วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

ระเบียบว่าด้วยการแต่งเครื่องแบบทหาร

พระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช 2477ตราไว้ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๘เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบันมาตรา 5 ลักษณะ

ชนิดและประเภทของเครื่องแบบทหารบก ทหาร เรือ และทหารอากาศ กับการแต่งเครื่องแบบทหารบกทหารเรือและทหารอากาศ ว่าจะสมควรอย่างไร เมื่อไร และโดยเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงในกรณีที่ทหารบก ทหารเรือหรือทหารอากาศ ต้องไปปฏิบัติราชการ สนามนอกราชอาณาจักรเมื่อเห็นสมควรจะมีเครื่องแบบสนามเพิ่มขึ้นสำหรับแต่ง เพื่อปฏิบัติราชการสนามนอกราชอาณาจักรแล้ว ลักษณะชนิดและประเภทของ เครื่องแบบสนามดังกล่าว ตลอดจนการแต่งว่าจะสมควรอย่างไร เมื่อไรและ โดยเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด [ มาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบทหาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2514] มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีหน้าที่รักษาการให้ เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการให้เป็น ไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

พระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2514 *หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เครื่องแบบของทหารที่ปฏิบัติราชการสนามนอกราชอาณาจักร จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละภูมิประเทศและเหตุการณ์อยู่เสมอ

ฉะนั้น การกำหนดเครื่องแบบในกรณีดังกล่าวนี้โดยออกเป็นกฎกระทรวงแต่ละครั้งย่อมไม่อาจทันต่อเหตุการณ์และความจำเป็นสมควรให้กระทรวงกลาโหมกำหนดเครื่องแบบในกรณี ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องออกเป็นกฎกระทรวงจึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยเครื่องแบบทหารเสียใหม่ [รก.2514/98/607/14 กันยายน 2514] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช 2477รัฐมนครีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกกฎไว้ดังต่อไปนี้ทหารกองประจำการ นักเรียนทหาร และทหารประจำการ แต่งเครื่องแบบทหารได้ทุกโอกาสผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นว่าที่ยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรขั้นใดให้แต่เครื่องแบบและประดับเครื่องหมายยศเช่นเดียวกับนายทหารสัญญาชั้นนั้นนายทหารนอกกอง ราชองครักษ์พิเศษ นายทหารพิเศษ และผู้บังคับการพิเศษมีสิทธิแต่งเครื่องแบบทหารเช่นเดียวกับนายทหารประจำการได้ทุกโอกาสพลทหารและนายทหารประทวนประจำการ แต่งเครื่องแบบทหารได้เฉพาะในโอกาสต่อไปนี้ คือ

(1) ถูกเรียกระดมพล

(2) ถูกเรียกเข้ารับราชการทหารพลทหารและนายทหารประทวนนอกประจำการ ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญตามกฎหมายว่าด้วยเหรียญกล้าหาญ หรือเหรียญชัยสมรภูมิตามกฎหมายว่าด้วยเหรียญชัยสมรภูมิหรือเหรียญอื่นใดซึ่งผู้ได้รับมิสทธิเช่นเดียวกับผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดังกล่าวแล้วมีสิทธิแต่งเครื่องแบบทหารได้เฉพาะในโอกาสที่ได้รับเชิญไปร่วมงานต่อไปนี้ คือ(1) งานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี(2) งานต่าง ๆ ของทหาร

(3) งานซึ่งเกี่ยวกับราชการ

(4) งานพิธีอันมีเกียรติทั่ว ๆ ไปนายทหารสัญญาบัตรนอกประจำการ มีสิทธิแต่งเครื่องแบบทหารได้ทุกโอกาส



การแต่งเครื่องแบบทหารในแต่ละโอกาส1. ในโอกาสต่อไปนี้ ถ้าไม่มีคำสั่งหรือหมายกำหนดการเป็นอย่างอื่น ให้ทหารแต่ง เครื่องแบบปกติขาว คือ

1.1 ไปในงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี ตามหมายกำหนดการ

1.2 เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสต่าง ๆ ที่เป็นทางราชการหรือในการรับ-ส่งเสด็จ

1.3 ไปในงานพิธีของทางราชการที่กำหนดให้แต่งเครื่องแบบปกติแต่มิได้กำหนดให้แต่งเครื่องแบบปกติชนิดใดโดยแน่นอน

1.4 ไปในงานพระราชทานเพลิงศพทหาร ตำรวจ หรืองานฝังศพ ทหาร ตำรวจ ตามประเพณี ลัทธิ หรือศาสนาที่ไม่เผาศพ

1.5 ไปในงานพิธีของส่วนราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนแต่งเครื่องแบบปกติขาว

1.6 ในงานพิธี หรืองานเลี้ยงรับรองที่เป็นเกียรติ ถ้าจำเป็นต้องแต่งเครื่องแบบปกติขาวให้แต่งได้ตามความเหมาะสม





2. ในโอกาสต่อไปนี้ ถ้าไม่มีคำสั่งหรือหมายกำหนดการเป็นอย่างอื่น ให้ทหารแต่งเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ คือ

2.1 ในการเยี่ยมคำนับเป็นทางการ

2.2 ในการรายงานตนเอง

2.3 ในงานพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงไชยเฉลิมพลของทหาร

2.4 ในงานพิธีที่เป็นเกียรติของหน่วย เช่น พิธีรับประกาศนียบัตร พิธีเปิดหรือปิดการศึกษา พิธิเปิด,ปิดการประชุม การสัมมานาระหว่างประเทศ ซึ่งหน่วยใน ทบ.เป็นเจ้าภาพ หรือพิธีการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

2.5 เมื่อเป็นตุลาการศาลทหาร เวลาพิจารณาคดี ณ ที่ตั้งศาลปกติ

2.6 ไปในงานพิธีของส่วนราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนแต่งเครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง

2.7 ในโอกาสที่สามารถแต่งเครื่องแบบได้ทั้งชุดปกติขาวและชุดปกติกากีแกมเขียวคอแบะให้แต่งเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ




3. ในโอกาสต่อไปนี้ ถ้าไม่มีคำสั่งหรือหมายกำหนดการเป็นอย่างอื่นให้ทหารแต่งเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอพับ คือ

3.1 ในการปฏิบัติราชการตามปกติ และในการศึกษา หรือการดูงาน

3.2 ในการเดินทางภายในประเทศ เมื่อต้องแต่งเครื่องแบบ

3.3 ไปในงานพิธีของส่วนราชการฝ่ายพลเรือน ที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนแต่งเครื่องแบบปกติกากีคอพับหรือเครื่องแบบตรวจราชการ

3.4 ไปในงานหรือในสังคมที่ต้องการความเป็นระเบียบ และเมื่อจำเป็ฯต้องแต่งเครื่องแบบไปในงานหรือสังคมนั้นๆ เว้นแต่สังคมที่เกี่ยวกับกิจการค้าจึงไม่ควรแต่งเครื่องแบบทหาร


4. ในโอกาสต่อไปนี้ ถ้าไม่มีคำสั่งหรือหมายกำหนดการเป็นอย่างอื่น ให้ทหารแต่ง เครื่องแบบฝึก คือ

4.1 เมื่อทำการฝึก

4.2 เมื่อทำหน้าที่รักษาการณ์

4.3 เมื่อปฏิบัติราชการสนาม

4.4 เมื่อประจำแถวหรือควบคุมแถวทหาร


5. ในโอกาสที่ให้ทหารแต่ง เครื่องแบบปกติขาว หรือ เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ ตามที่กล่าวข้างต้นสำหรับ พลทหาร ให้แต่งเครื่องแบบปกติ





6. ทหารประจำการเมื่อออกไปนอกราชอาณาเขตจะแต่งเครื่องแบบมิได้เว้นแต่ในโอกาสต่อไปนี้ จึงให้แต่งเครื่องแบบได้

6.1 ในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ

6.2 เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านายต่างประเทศ เข้าเยี่ยมคำนับประมุขของประเทศเมื่อเจ้าหน้าที่ของประเทศนั้นนัดหมายให้แต่งเครื่องแบบ

6.3 ไปดูการทหาร หรือไปสมาคมกับทหาร ซึ่ง ณ ที่นั้นมีการแต่งเครื่องแบบ


7. ในโอกาสที่ต้องแต่งเครื่องแบบ ตามข้อ 6. ให้แต่งเครื่องแบบทหารบกโดยให้สอดคล้องกับหมายกำหนดการนั้น ๆหรือระเบียบของสถานศึกษานั้นๆ


สรุป กำลังพลสำรองสามารถแต่งเครื่องแบบทหารได้โดย อาศัยกฎหมาย "พระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช 2477" มาตรา 5 และ 7 ประกอบพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2514 และรัฐมนครีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกกฎไว้ดังต่อไปนี้ทหารกองประจำการ นักเรียนทหาร และทหารประจำการ แต่งเครื่องแบบทหารได้ทุกโอกาส ฯลฯ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นว่าที่ยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรขั้นใดให้แต่เครื่องแบบและประดับเครื่องหมายยศเช่นเดียวกับนายทหารสัญญาชั้นนั้น ฯลฯ เมื่อทราบแล้วก็ขอให้กำลังพลสำรอง




จงแต่งเครื่องแบบให้เหมาะสมถูกต้องตามกฏาระเบียบ ของกฎหมาย และกฎที่ออกโดย รมต.กระทรวงกลาโหมพร้อมกับรักษาระเบียบวินัยและธรรมเนียมทหารอย่างเคร่งครัดนะครับ

6 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

น่าจะบอกวิธีการติดเครื่องหมายนายทหารนอกประจำการว่าควรติดแบบใดให้ชัดเจนครับอย่างเช่นชุดงานช่างหรือพูดพื้นๆว่า (ชุดหมี)

mook_infinity กล่าวว่า...

เป็นความรู้ที่ดีมากค่ะ มุกเองก็ต้องใช้ในการเรียนด้วย ขอบคุณมากนะค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

กฏกระทรวง ปี ๒๔๗๗ และ ๒๔๙๙ ข้อ ๓ เขียนไว้ชัดเจน สรุปคือ ชั้นยศใดในขณะที่ประจำการประดับเครื่องหมายอย่างไร เมื่อเป็นนอกกองประจำการก็ประดับเครื่องหมายอย่างนั้น เว้นสังกัด ที่เปลี่ยนมาใช้ นก. ก็คือตั้งแต่ พ.อ.ธรรมดา ลงมา ส่วนระดับ พ.อ.พิศษ ขึ้นไป ขณะประจำการติดเครื่องหมาย คฑาไขว้ ก็ คฑาไขว้เช่นเดิมครับ(ที่คอ)

Unknown กล่าวว่า...

ฝากเรียนสอบถามครับ เมื่อ มี.ค. 2561 ที่ผานมา
เนื่องจากเห็นงานพระราชทานเพลิงศพคนสามัญ ที่จังหวัดหนึ่ง ลูกชายและคณะซึ่งเป็นทหารบก แต่งชุดขาวไว้ทุกข์ ซึ่งมีการติดป้ายชื่อที่อกขวาทุกคน ซึ่งผมเอง ว่าที่ ร.ต. ไม่ได้ติดป้ายชื่อ จึงดูแปลก (ปกติงานพระราชทานเพลิงศพ ผมจะไม่ติดป้ายชื่ออกขวาครับ)
ประธานในพิธี เป็นแม่ทัพภาค

หรือมีการประกาศใหม่แล้วว่าให้ติดป้ายชื่อชุดขาว (เหมือนที่ตำรวจมีประกาศให้ติด)
ขอบพระคุณครับ

Unknown กล่าวว่า...

ไปอยู่ที่ไหนมาถึงไม่รู้ว่าต้องติดป้ายชื่อ

Unknown กล่าวว่า...

เป็นข้าราชการแต่แต่งเครื่องแบบไม่ถูกต้องตามระเบียบ